Dhamma Legacy Centre (ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชนไทยหัวใจใฝ่ธรรม)
เกี่ยวกับบริษัท
ด้วยความมุ่งหมายหลัก ในการทำหน้าที่สร้างสรรค์ ส่งเสริม เชื่อมโยง และประสานกิจกรรมต่างๆ เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะสำคัญ คือ “ความสามารถในการร่วมกันทำงานได้อย่างยืดหยุ่น และขยายไปได้ในวงกว้าง” (Cooperate Flexibly and Large Numbers) ที่จะเอื้อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่จากหลากหลายที่มา หลากหลายทักษะความสามารถ ได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการทำความรู้จักและเกิดความเข้าใจ ในทักษะที่เกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ และความยืดหยุ่นทางความคิดดังกล่าว
ศูนย์สร้างสรรค์เยาวชนไทยหัวใจใฝ่ธรรม จึงเป็นเสมือนแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพลังและความคิดสร้างสรรค์ กับกลุ่มคนเก่าที่มากความสามารถและประสบการณ์ชีวิต ซึ่งย่อมต้องมีการผสมผสานและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ระหว่างการสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ และความสอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ตามวีถีชีวิตที่ดำเนินไปในบริบทของสังคมนั้นๆ ซึ่งย่อมประกอบด้วยความแตกต่างและความหลากหลาย อันจะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ได้ในหลากหลายมิติ (Ecology of Learning)
ด้วยการตั้งต้นจากการสรรค์สร้าง นิทานธรรมะภาษาอังกฤษออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Online English Moral Story) ด้วยโครงเรื่องจากอรรถกถาชาดก ที่สอดคล้องกับมงคล 38 ประการ ซึ่งจะนำมาใช้เป็นสื่อหลัก ควบคู่กับกิจกรรมสร้างสรรค์หลากหลายประเภท ภายใต้กระบวนการ “เรียนอย่างตื่นรู้” (Mindful Active Learning) ที่มีโครงสร้างจากหลักธรรมคำสอน ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้คนรุ่นใหม่ได้มีหลัก “พุทธธรรมนำชีวิต” แบบที่ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบของการท่องจำ แต่ให้ซึมซับและเข้าใจจากการลงมือทำกิจกรรม ที่ประยุกต์แนวทางการเรียนรู้จากเรื่องเล่า (Story-based Approach) บนฐานกิจกรรมของการสอนแบบ Content and Language Integrated Learning Approach (CLIL) ที่จะช่วยให้ทั้งผู้สอนหรือผู้นำกิจกรรมและผู้เรียนเองสามารถเข้าถึงซึ่งสภาวะภายในได้ผ่านเรื่องราวต่างๆ ที่นำมาเป็นสื่อเรียนรู้ร่วมกัน
โดยการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในระดับอุดมศึกษา หรือผู้ที่มีจิตอาสา ได้เข้ามาร่วมทำประโยชน์ให้กับสังคมได้ ตามความถนัดและตามระดับทักษะความสามารถ ด้วยการเข้าร่วมอบรมบนพื้นฐานของ การฝึกสติ (Mindfulness) ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เทคนิคการจัดกระบวนส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านเรื่องราว (Story-based Approach) ตลอดจนเรียนรู้แนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในเพื่อสร้างสรรค์สื่อการเรียนการสอน (Technology for Teaching and Learning) ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการต่อยอดไปสู่การประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าวในการสร้างสื่อเพื่อเนื้อหาสาระอื่น เช่น สิ่งแวดล้อม หรือ วิทยาศาสตร์ อันจะเป็นฐานในการสร้างงาน หรือสร้างอาชีพต่อไปได้ในอนาคต
ทั้งนี้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น จำเป็นต้องดำเนินไปบนพื้นฐานของการระลึกรู้อยู่กับกิจที่กำลังทำ เพื่อต่อยอดกิจกรรมให้ครอบคลุมไปถึง การฝึกความสามารถในการพิจารณาอารมณ์ ความรู้สึก (Emotion) ความสามารถในการสืบค้น วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และเลือกใช้ข้อมูลต่าง ๆ (Knowledge) ทั้งยังมีส่วนช่วยให้ทั้งผู้นำกิจกรรมและเยาวชนผู้มาร่วมเรียนรู้นั้น สามารถนำไปเชื่อมโยงเข้ากับวิถีในชีวิตประจำวันได้ เพื่อให้สามารถนำทักษะภายในดังกล่าว ไปเป็นเครื่องส่งเสริมการดำเนินชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม ในสังคมที่แต่ละคนต้องดำรงชีวิตอยู่ (Interactive Behaviour)
เรียนรู้ (ที่จะ)
☑ สังเกตอารมณ์ ความรู้สึก (Emotion)
☑ สืบค้น วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และเลือกใช้ข้อมูลต่าง ๆ (Knowledge)
☑ ฝึกฝนและพัฒนาตน ให้เป็นบุคคลที่ทำประโยชน์อยู่เสมอ (Personal Development)
☑ ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม (Interaction Behaviour)
ผสมผสานหลากหลายกิจกรรม เครื่องมือ และสื่อการเรียนการสอน
☑ รู้จักและฝึกที่จะระลึกรู้ อยู่กับความเป็นไปในขณะนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นฐานในการแยกแยะและพิจารณาสิ่งต่างๆ ในระหว่างวัน และระหว่างที่ทำกิจกรรมใดๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการฝึกความตั้งมั่นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่เสียสมาธิไปกับ ความคิด หรือ ความวิตกกังวลต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา (Mindfulness for a Learning Life)
☑ ทำความรู้จักและยอมรับ ในศักยภาพและความสามารถ ของตนเองและผู้อื่น เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านกิจกรรมกลุ่ม (Group Dynamics)
☑ เปิดรับและฝึกฝนทักษะการสื่อสาร ผ่านการทำความเข้าใจเรื่องเล่าที่นำมาเป็นบทเรียนตั้งต้น เพื่อช่วยกันสืบค้นและทำความเข้าใจความหมายในบริบทดังกล่าว แล้วฝึกบอกเล่าเรื่องราวนั้นๆ ด้วยตนเอง (Communication)
☑สรุปคติสอนใจ และเทียบเคียงสถานการณ์ พร้อมฝึกเชื่อมโยงกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตนเองได้ เพื่อตรวจสอบสิ่งที่ควรงดเว้น หรือทำต่อไป และสิ่งที่ควรทำเพิ่มเติม (Moral of the Story)
☑ สามารถพิจารณาถึงประโยชน์และข้อดีของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ และการดำเนินชีวิต ของตนเอง และผู้คนรอบข้าง (Technology)
ประสานความร่วมมือกันกับหลายฝ่าย
☑ สถานที่สำหรับสาธารณะประโยชน์ในชุมชน (วัด ศาลากลาง อบต.)
☑ ครอบครัว พ่อ แม่ ผู้ปกครอง
☑ ภายใต้ความรับรู้ของครูอาจารย์ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรม
☑ หน่วยงานเอกชน หรือบุคคลทั่วไป ที่สนใจให้การสนับสนุนทุนการศึกษา กับกลุ่มเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรม
ที่ตั้งบริษัท
วัดป่าแก้ว 20/3 หมู่ 7 แสลง, เมืองจันทบุรี, จันทบุรี, 22000
จำนวนพนักงาน
6
สวัสดิการ
☑ ปฏิบัติงานออนไลน์ได้จากที่บ้าน
☑ บริหารจัดการวัดทำงานและวันหยุดได้ตามความเหมาะสม
☑ ค่าตอบแทนระดับปริญญาตรี พร้อมโบนัสเพิ่มเติมเมื่อมีกิจกรรมพิเศษ